วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

สอบกลางภาค

                                                                    ทดสอบกลางภาค

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
                ตอบ กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีความผิดและถูกลงโทษ  การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่า ต้องบังคับใช้กับทุกคน เพื่อให้เกิดความเสมอภาค หากเราเลือกใช้กฎหมายกับคนใดคนหนึ่ง ก็ไม่อาจเรียกว่ากฎหมายได้ เพราะหากคนทำผิด หรือคนฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้รับโทษ เนื่องจากกฎหมายยกเว้น ความสงบสุขก็อาจไม่เกิดขึ้น

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย  เพราะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพที่ดี และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นโดยรับบริจาคหนังสือสำหรับการเรียนรู้และสำรวจแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสอบถามจากคนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้านในชุมชนจากนั้นจัดสรรหางบประมาณเพื่อช่วยให้ชุมชนมีสถานที่สำหรับศึกษา พร้อมกับจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานที่และสถานการณ์ของชุมชนเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และอาจจะมีการผลิตสื่อต่างๆที่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย และอาจมีการระดมเงินทุน หรืองบสนับสนุนจากคนในชุมชน ในการพัฒนาสื่อการสอนภายในโรงเรียน

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ
(2) การศึกษานอกระบบ
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรและระยะเวลา มี 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา
   

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งแบ่งเป็นสามระดับได้แก่
1. การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
แต่การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าเก้าปี มีการจัดการศึกษาดังต่อไปนี้
1. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
2. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มี  หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม 2 3 4 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้บุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตาม

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
ตอบ ไม่ผิด เพราะตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3.  นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4.  ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5.  ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6.  คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7.  ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา

8.  บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
ตอบ โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
-ภาคทัณฑ์
-ตัดเงินเดือน
-ลดขั้นเงินเดือน
ปลดออก
ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
1. “เด็ก” คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย การสมรส
2. “เด็กเร่ร่อน” คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆหรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
3. “เด็กกำพร้า” คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
4. “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญาหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
5. “เด็กพิการ” คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
6. “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหายทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. “ทารุณกรรม” คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ดิฉันคิดว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ล้วนแล้วเป็นเด็กที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ เนื่องจากพวกเขามีปัญหาทั้งทางด้านครอบครัวและคนรอบข้าง ซึ่งหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะได้รับอันตรายไม่ว่างทั้งร่างกายและจิตใจ และอีกทั้งจะเป็นปัญหาให้แก่สังคมอีด้วย
 1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
                ตอบ กฎหมาย คือ ข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคล อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีความผิดและถูกลงโทษ  การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่า ต้องบังคับใช้กับทุกคน เพื่อให้เกิดความเสมอภาค หากเราเลือกใช้กฎหมายกับคนใดคนหนึ่ง ก็ไม่อาจเรียกว่ากฎหมายได้ เพราะหากคนทำผิด หรือคนฝ่าฝืนกฎหมายไม่ได้รับโทษ เนื่องจากกฎหมายยกเว้น ความสงบสุขก็อาจไม่เกิดขึ้น

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย  เพราะ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีศักยภาพที่ดี และยังเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มีการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นโดยรับบริจาคหนังสือสำหรับการเรียนรู้และสำรวจแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชน โดยการสอบถามจากคนในชุมชน ผู้ใหญ่บ้านในชุมชนจากนั้นจัดสรรหางบประมาณเพื่อช่วยให้ชุมชนมีสถานที่สำหรับศึกษา พร้อมกับจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานที่และสถานการณ์ของชุมชนเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และอาจจะมีการผลิตสื่อต่างๆที่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชุมชน ที่สามารถหาได้ง่าย และประหยัดค่าใช้จ่าย และอาจมีการระดมเงินทุน หรืองบสนับสนุนจากคนในชุมชน ในการพัฒนาสื่อการสอนภายในโรงเรียน

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ
(2) การศึกษานอกระบบ
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรและระยะเวลา มี 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษา
   

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งแบ่งเป็นสามระดับได้แก่
1. การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นสองประเภท
1) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ หรือ ศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
แต่การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าเก้าปี มีการจัดการศึกษาดังต่อไปนี้
1. การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
2. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยปกติใช้เวลาเรียน 3 ปี

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ มีการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มี  หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม 2 3 4 5 และ 6 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวปฏิบัติให้บุคลากรทางการศึกษาผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพต้องปฏิบัติตาม

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 
ตอบ ไม่ผิด เพราะตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้กล่าวไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3.  นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
4.  ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5.  ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6.  คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
7.  ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา

8.  บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 
ตอบ โทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ บทลงโทษที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประพฤติในทางที่ไม่ชอบไม่ควร
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
-ภาคทัณฑ์
-ตัดเงินเดือน
-ลดขั้นเงินเดือน
ปลดออก
ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
1. “เด็ก” คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย การสมรส
2. “เด็กเร่ร่อน” คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่างๆหรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
3. “เด็กกำพร้า” คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
4. “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก” คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญาหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
5. “เด็กพิการ” คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
6. “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหายทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

7. “ทารุณกรรม” คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
ดิฉันคิดว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ล้วนแล้วเป็นเด็กที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ เนื่องจากพวกเขามีปัญหาทั้งทางด้านครอบครัวและคนรอบข้าง ซึ่งหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือ พวกเขาจะได้รับอันตรายไม่ว่างทั้งร่างกายและจิตใจ และอีกทั้งจะเป็นปัญหาให้แก่สังคมอีด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น