วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (((40 คะแนน)
1.ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ  
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท ใช้เป็นหลักในการปกครอบประเทศ กฎหมายอื่นๆจะขัดแย้ง กับรัฐธรรมนูญไม่ได้ กฎหมายฉบับนี้จะได้กล่าวถึงลักษณะ หลักการ การใช้อำนาจของรัฐ ในการบริหารและปกครองประเทศในภาพรวมเท่านั้น ส่วนรายละเอียด รัฐธรรมนูญจะส่งต่อให้ไปออกเป็น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือพระราชกฤษฎีกาอีกทอดหนึ่ง แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความสำคัญและความจำเป็นของเรื่อง
พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยใช้กระบวนการทางรัฐสภา กฎหมายส่วนใหญ่จะถูกออกใช้ด้วยวิธีการนี้ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมาย ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่จำเพาะจะจงและแคบลงมา โดยรับหลักการมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ อีกทอดหนึ่ง กฎหมายประเภทนี้จะได้กล่าวถึงหลักการของแต่ละเรื่องโดยละเอียด แต่จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยลึกๆ เช่น พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 จะไม่กล่าวถึงลักษณะของป้ายทะเบียนรถ แต่จะให้อำนาจให้รัฐมนตรีว่าการฯ ไปออกเป็นกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเอาเอง เป็นต้น พระราชบัญญัติเกือบทุกฉบับ ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับ และได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานดังกล่าว ให้มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ ดังนั้นคำสั่งที่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย หากได้สั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัตินั้นแล้ว คำสั่งนั้นจึงถือเป็นกฎหมายครับ
พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร การออกพระราชกำหนดจะต้องเป็นกรณี เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือแก้ไขภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งต้องเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความเร่งด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือ มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งเป็นการด่วนและลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน เท่านั้น โดยมีข้อแม้ว่า เมื่อพระราชกำหนดมีผลใช้บังคับแล้ว คณะรัฐมนตรีต้องนำพระราชกำหนดฉบับนั้นๆ เสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดยมิชักช้า หากรัฐสภาไม่อนุมัติ พระราชบัญญัติฉบับนั้นต้องตกไป (ถูกยกเลิกไป) แต่ไม่กระทบถึงกิจการที่ได้ทำไปก่อนถูกยกเลิก หากรัฐสภาอนุมัติ ก็ให้พระราชกำหนดฉบับนั้นมีผลใช้บังคับเป็น "พระราชบัญญัติ" ต่อไป
พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนด ได้เปิดช่องทางและมอบให้ฝ่ายบริหารสามารถออกกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดปลีกย่อยเอาเอง เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด แล้วแต่กรณี เหตุที่ต้องให้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจออกกฎหมายได้นั้น ก็เนื่องจากการออก รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดนั้น ในเนื้อหารายจะกล่าวถึงกรอบใหญ่ๆอันเป็นหลักการเท่านั้น แต่รายละเอียดในทางปฏิบัติ จะให้อำนาจฝ่ายบริหารไปกำหนดรายละเอียดเอาเอง ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายหลัก เช่น พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เหมาะสมและใช้ได้ตลอดไป และสามารถแก้ไขให้ทันต่อเหตุการณ์ได้ง่าย เนื่องจากการแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ไม่จำต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภานั่นเอง
เทศบัญญัติ คือ   กฎหมายที่เทศบาลออกเพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาลทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ ได้แก่ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2542

2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร   ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับและถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นต้นมา รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรีและทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล  ซึ่งหากเราไม่มีรัฐธรรมนูญข้าพเจ้าคิดว่า ประเทศไทยแผ่นดินนี้คงวุ่นวายน่าดู จะมีการแย่งชิงอำนาจ เอารัดเอาเปรียบ ล่วงละเมิดคนอื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และประเทศไทยก็ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีความสามัคคี ดังนั้นในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้ คือ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มากที่สุด คือต้องเคารพในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ของคนในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทยและหากไม่มีรัฐธรรมนูญประเทศไทยก็จะอยู่ไม่ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายในการปกครองจะทำให้คนในประเทศอยู่กันด้วยความวุ่นวาย มีการก่ออาชญากรรมกันมากขึ้น และขาดระเบียบระบบในการปกครองประเทศ

3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  รัฐธรรมนูญมาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" ข้าพเจ้าคิดว่า สมควรได้รับการลงโทษเป็นอย่างยิ่งแต่อาจจะเปลี่ยนระยะเวลาในการลงโทษให้น้อยลง เพราะบางคนอาจจะไม่ได้ตั้งใจทำความผิดก็ได้ แต่สำหรับบางคนก็ควรพิจารณา ให้สิทธิ เสรีภาพ แก่ผู้กรณีอย่างเสมอภาคทุกคน และหากผู้ใดที่กระทำผิดอย่างร้ายแรงจริงๆก็ให้เพิ่มบทลงโทษขึ้น คือให้มีระยะเวลาในการลงโทษ สองแบบ คือ แบบที่ตั้งใจดูหมิ่นและแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ

4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ กัมพูชาที่เป็นกรณีพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ    ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งและจากการที่ได้ติดตามข่าวสารเรื่องนี้ นับว่าเป็นข่าวที่น่าสนใจมากเพราะเรื่องเกิดขึ้นมาจากการตีความแผนที่คนละแผ่นกัน จึงทำให้เป็นเหตุให้มีการบุกล้ำพื้นที่ระหว่างกัน โดยมีทหารหรือคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ทำการก่อเหตุ จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อคนที่อาศัยอยู่ในแถบนั้น และที่สำคัญคือ กรณีของเขาพระวิหารที่ตอนนี้ยังตกลงกันไม่ได้เลย สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ อย่าใช้ความรุนแรงและใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เพื่อผลประโยชน์แก่ประเทศตนเองและส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นให้น้อยที่สุด และพูดคุยกันโดยใช้สันติวิธี พูดคุยกันโดยที่ไม่ได้ทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียผลประโยชน์ของกันและกัน

5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย  กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบห็นด้วย กับ “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ” เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้ และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย

6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย  การศึกษา  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ  การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาตรฐานการศึกษา  การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์  ผู้บริหารการศึกษา   ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา  สถานศึกษา
ตอบ     การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เช่น การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากตัวเอง หรือจัดมาจากคนอื่นและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
             การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นการศึกษาช่วงก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวะ หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
             การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง เป็นการศึกษาที่รวมระหว่าง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย รวมเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต
             การศึกษาในระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษาที่แน่นอน
             การศึกษานอกระบบ หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคลแต่ล่ะกลุ่ม
             การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ความสนใจของตนเอง โดยจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆหรือที่ผู้ปกครองสนับสนุน
             สถานศึกษา หมายถึง เป็นสถานที่ในจัดการการเรียนรู้ เช่น โรงเรียน สถาบัน มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นของรัฐหรือเอกชนจัดให้ก็ได้
             สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
             มาตรฐานการศึกษา หมายถึง มาตรฐานหรือข้อกำหนด เช่น คุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์ และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นในการประกันคุณภาพ
             การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยคนในสถานศึกษาเป็นผู้ประเมินเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
             การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยคนภายนอก หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
             ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ และเป็นผู้ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ
             ครู หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
             คณาจารย์ หมายถึง เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ทั้งรัฐและเอกชน
             ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
             ผู้บริหารสถานศึกษ หมายถึง เป็นบุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
             บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบรอหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7. ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบข้าพเจ้ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการในการจัดการศึกษา ดังต่อไปนี้
ตอบ       ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
               การปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครู  หมายถึง  การศึกษา ค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง    การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่องค์การหรือหน่วยงาน  หรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม  การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ เป็นต้น  ทั้งนี้ต้องมีผลงานหรือรายงานที่ปรากฏชัดเจน
               ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
               การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ  โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน มีการเลือกอย่างชาญฉลาด   ด้วยความรัก  และหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
               มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
               การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด  ตามความถนัด  ความสนใจ  ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน  ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิมรวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ  ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
               การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง  หมายถึง  การเลือกใช้ ปรับปรุงหรือสร้างแผนการสอน  บันทึกการสอน  หรือ เตรียมการสอนในลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
                พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
               การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  หมายถึง  การประดิษฐ์คิดค้น    ผลิตเลือกใช้    ปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์    เอกสารสิ่งพิมพ์    เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้
               จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
               การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน  หมายถึง  การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้    ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติจริง  และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง  ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวรติดตัวผู้เรียนตลอดไป      
อีกทั้งข้าพเจ้ายังมองว่าการศึกษาสมัยใหม่ต้องอาศัยพึ่งพาสื่อและเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาและเอื้อต่อการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวกกว่าที่เคยเป็น ดังนั้นการรู้จักเลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีใหม่ๆในการจัดการศึกษาย่อมนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาต้องหันมาทบทวนการใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีทางการศึกษา เมื่อทบทวนแล้ว หากจะให้เกิดผลอย่างแท้จริงก็จำต้องปฏิรูปการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกันนั้นก็ต้องพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาด้วย ในกระบวนการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนต้องมีการประยุกต์เอาสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ใหม่ๆ มีการเปลี่ยนจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมให้กลายเป็นห้องเรียนออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต มีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นแบบ Realtime กับผู้คนทั่วโลก ผ้เรียนสามารถเรียนและพัฒนาความสามารถของตนได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้เป็นส่วนกระตุ้นหรือเร้าความสนใจ และกระบานการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อศักยภาพทางปัญญา อารมณ์และจิตใจของผู้เรียน ให้กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี

8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น ประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร   หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ผิด หากดูตามเจตนาของผู้เข้ามาสอน หากผู้นั้นมีความตั้งใจจริงที่จะสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน แต่อาจเนื่องด้วยผู้สอนมีข้อจำกัดหรือข้อจำเป็นบางอย่างหรืออาจไม่ทราบรายละเอียดในทางกฎหมายการศึกษาตามมาตรา 46 ที่ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
ดังนั้นเพื่อให้การนำเนินการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาผู้สอนควรศึกษากฎหมายการศึกษา และดำเนินการขออนุญาตหรือขอใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาให้ถูกต้อง

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
  ตอบ  1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. 2547 และ
   2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
   3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
   4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
            ตอบ จากการเรียนวิชานี้ทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้เรื่องกฎหมายซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จำเป็นต้องรู้และเข้าใจ เพราะในอนาคตข้าพเจ้าต้องเป็นครู และเป็นแนวทางในการสอบบรรจุข้าราชการ สามารถนำสิ่งที่อาจารย์เรียนไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนในอนาคตได้ ในเรื่องการใช้ web log ในการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวิธีการที่ประหยัด สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เนื้อหาที่อาจารย์ให้มาก็มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่สิ้นเปลืองกระดาษ ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ถ้าให้เกรดในวิชานี้ข้าพเจ้าจะให้เกรด A และข้าพเจ้าก็อยากได้เกรด A ค่ะ